RSI คืออะไร หนึ่งในเครื่องมือที่เทรดเดอร์ต้องติดไว้ทุกครั้ง!

สำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ตลาด RSI (Relative Strength Index) เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ควรมีไว้ใช้งานทุกครั้งที่ทำการเทรด! RSI คือเครื่องมือวัดความแข็งแรงของราคา (Momentum) โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงของราคาในช่วงเวลาที่กำหนด ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถมองเห็นสถานะ Overbought (ซื้อมากเกินไป) หรือ Oversold (ขายมากเกินไป) ซึ่งบ่งบอกถึงโอกาสกลับตัวของราคาในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีเปิดใช้งาน RSI

วิธีใช้งาน วิธีการใช้โดยเราจะสามารถเปิดใช้งาน ใน MT4 ได้ผ่านการเข้าไปที่ Insert > Oscillators > Relative Strength Index

โดยการตั้งค่าเราสามารถใช้งานค่าเริ่มต้นที่ Period 14 ที่ระบบตั้งค่ามาได้เลย

จากนั้นเราก็จะได้หน้าต่าง Indicator RSI ขึ้นมาด้านล่างของกราฟราคาโดยเราจะใช้ RSI ในการดูปริมาณการซื้อ-ขายของตลาดในช่วงนั้นๆนั่นเอง

วิธีการเทรดโดยใช้ RSI

1. ใช้เป็นสัญญานในการเปิด-ปิดออเดอร์

ซึ่งวิธีที่เราจะใช้ RSI ในการเทรดนั้นเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะใช้ RSI ในการดูปริมาณการซื้อขายในตลาดว่าราคา ณ ตอนนั้นมีราคาที่สูงเกินไปหรือว่าราคาตอนนั้นต่ำเกินไป โดยอินดิเคเตอร์จะแบ่งโซนออกเป็น 2 โซนหลักๆคือ Overbought และ Oversold ให้เราดูที่กรอบตัวเลข 30 และ 70 ในช่อง Indicator หากเส้น RSI วิ่งขึ้นอยู่เหนือ 70 จะเรียกว่าอยู่ในโซน Overbought แสดงว่าตลาด ณ ตอนนั้นมีคนซื้อเยอะมากแล้ว ราคาตอนนั้นสูงแล้วมีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวลงเทรดเดอร์ก็จะใช้สัญญานนี้ในการหาจุดเข้า Sell กลับกันถ้าราคาวิ่งลงอยู่ต่ำกว่า 30 จะอยู่โซน Oversold แสดงว่าตอนนั้นมีคนขายเยอะมากแล้ว ราคาต่ำแล้วมีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นเทรดเดอร์ก็จะหาจังหวะเพื่อเข้า Buy หรือจำง่ายๆคือ “มากกว่า 70 ให้ขาย” “ต่ำกว่า 30 ให้ซื้อ” แต่ผลก็อาจไม่ได้เป็นไปตามที่อินดิเคเตอร์แสดงเสมอ เช่นกัน เราอาจจะใช้ปัจจัยอื่นๆเป็นองค์ประกอบในการเข้าออเดอร์ เช่นอย่างตัวผมเองก็จะใช้ในการหาจังหวะเข้าออเดอร์ตามเทรนเป็นหลัก เช่นหากเมื่อกราฟเกิดเทรนขาขึ้น เราก็จะรอให้ RSI ลงไปอยู่ในโซน Oversold ก่อนจากนั้นถึงทำการเปิดออเดอร์ Buy ตามนั้นเอง แต่กราฟเป็นขาลงเราก็จะรอให้ RSI ขึ้นไปอยู่เหนือเส้น Overbought แล้วจึงหาจังหวะเปิดออเดอร์ Sell นั่นเอง

2. ใช้ในการดูสัญญานการกลับตัวของราคา

อย่างที่บอกไปก่อนหน้าว่า RSI เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดูปริมาณการซื้อ-ขายของสถาวะตลาดในช่วงนั้นทำให้เราสามารถนำมาประยุกข์ด้วยการใช้หาจุดที่ราคามีโอกาสกลับตัวลงมาได้อีกด้วยนั่นก็คือการดู Divergence ซึ่ง Divergence คือการแสดงสัญญานที่กราฟของราคาเคลื่อนที่ไม่สอดคล้องกับ Indicator

Bullish Divergence

เกิดขึ้นเมื่อเทรน ตอนนั้นเป็นขาลงกราฟราคามีการปรับตัวทำลงมีการทำ Lower Low ใหม่ที่ต่ำกว่าเดิมแต่ Indicator กลับทำ Lower High แสดงให้เห็นว่าในขณะที่ราคายังคงปรับตัวต่ำลง ปริมาณการซื้อในตลาดกลับเพิ่มขึ้นไปส่งผลให้ราคามีโอกาสที่จะกลับตัวลงมาเป็นขาขึ้นได้เทรดเดอร์มักใช้จุดนี่เป็นสัญญานในการหาจุดกลับตัวและเปิดออเดอร์ “Buy”

Bearish Divergence

เกิดขึ้นเมื่อเทรน ตอนนั้นเป็นขาขึ้นกราฟราคามีการปรับตัวสูงขึ้นมีการทำ Higher High ใหม่ที่สูงขึ้นแต่ Indicator กลับทำ Higher Low แสดงให้เห็นว่าในขณะที่ราคายังคงดีดตัวสูงขึ้น ปริมาณการซื้อในตลาดกลับหายไปส่งผลให้ราคามีโอกาสที่จะกลับตัวลงมาเป็นขาลงได้เทรดเดอร์มักใช้จุดนี่เป็นสัญญานในการหาจุดกลับตัวและเปิดออเดอร์ “Sell”

Picture of [ADMIN] `SENSEI~
[ADMIN] `SENSEI~

เขียนและเรียบเรียงบทความโดย